เมนู

โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป.

[81] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับอุทานของท้าวสักกะจอมเทพ
เสด็จเหาะขึ้นไปสู่เวหาสแล้ว ทรงเปล่งอุทานในอากาศ 3 ครั้งว่า
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป.

ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ลำดับนั้นแล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ซึ่งภิกษุ
ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตนมิใช่เลี้ยง
คนอื่น ผู้คงที่ สงบแล้ว มีสติทุกเมื่อ.

จบมหากัสสปสูตรที่ 7

อรรถกถามหากัสสปสูตร



มหากัสสปสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในคำว่า สตฺตาหํ เอกปลฺลงฺเกน นิสินฺโน อญฺญตรํ สมาธึ สมา-
ปชฺชิตฺวา
นี้ อันดับแรก เกจิอาจารย์กล่าวไว้ว่า สมาธิอันสัมปยุตด้วย
อรหัตผล ท่านประสงค์เอาว่า สมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสูตรนี้. ก็ท่าน
มหากัสสปนั้นเข้าสมาธินั้นมาก เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และสามารถ

ยับยั้งอยู่ถึง 7 วัน ด้วยผลสมาบัติ. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสถาปนาท่านไว้ในฐานะอันเสมอกับพระองค์ ในอุตริมนุสธรรม
ต่างด้วยอนุบุพพวิหาร 9 และอภิญญา 6 เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราหวังอยู่ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจาก
อกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ อยู่เพียงใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้
กัสสปหวังอยู่ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย ฯลฯ อยู่เพียงใด ก็ในที่นี้
ไม่ควรกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น พระเถระพึงกระทำแม้ยมกปาฏิหาริย์
ได้ เพราะท่านประสงค์เอาฌานเป็นต้น ที่ทั่วไปแก่พระสาวกเท่านั้น.
ฝ่ายพระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า บทว่า อญฺญตรํ สมาธึ สมาปชฺ-
ชิตฺวา
ได้แก่ เข้านิโรธสมาบัติ. ถามว่า อย่างไร นิโรธสมาบัติท่านจึง
กล่าวว่าสมาธิ ? ตอบว่า เพราะอรรถว่าตั้งมั่น. ก็อรรถว่าความตั้งมั่นนี้
คืออะไร ? คือ เพราะนิโรธสมาบัติเป็นคุณธรรม ไม่หวั่นไหวด้วยธรรม
อันเป็นข้าศึก เพราะความเป็นธรรมที่พึงตั้งมั่นไว้โดยชอบ คือพระ-
อรหันต์หรือพระอนาคามี ผู้ถึงความเชี่ยวชาญในฐานะที่กล่าวแล้ว ประ-
สงค์จะอยู่อย่างนั้น พึงตั้งมั่นความไม่เป็นไป (คือนิโรธสมาบัติ) โดยชอบ
ทีเดียว แห่งความสืบต่อแห่งจิตและเจตสิก ตลอดเวลาตามที่ประสงค์
ด้วยการบรรลุด้วยพละ 2 คือ สมถพละ วิปัสสนาพละ ด้วยญาณจริยา 16
คือ ญาณ 16 เหล่านี้ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุ-
ปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิสสัค-
คานุปัสสนา วิวัฏฏานุปัสสนา มรรคญาณ 4 ผลญาณ 4 ด้วยสมาธิ-
จริยา 9 คือ สมาธิ 9 ได้แก่ สมาธิ 8 มีปฐมฌานสมาธิ เป็นต้น และ
อุปจารสมาธิของสมาธิ 8 นั้น ซึ่งรวมเข้าเป็นอันเดียว ด้วยการสงบ

ระงับสังขาร 3 เหล่านี้ในธรรมนั้น ๆ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิต-
สังขาร ความที่นิโรธสมาบัตินั้น พึงตั้งมั่นอย่างนั้น ชื่อว่าอรรถแห่ง
ความตั้งมั่นในที่นี้ ด้วยเหตุนั้น วิหารธรรมนี้ ท่านจึงกล่าวว่าสมาธิ
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน. ด้วยเหตุนี้ แม้อรรถแห่งการเข้านิโรธสมาธินั้น
พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้แล้ว. จริงอยู่ ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านหมาย
เอานิโรธสมาบัตินี้ ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าญาณในสัญญานิโรธสมาบัติ
เพราะประกอบด้วยพละ 2 เพราะสงบระงับสังขาร 3 เพราะญาณจริยา 16
เพราะสมาธิจริยา 9 เพราะความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า
บทว่า ทฺวีหิ พเลหิ ได้แก่ พละ 2 คือ สมถพละ วิปัสสนาพละ. พึง
ทราบความพิสดารต่อไป กถาว่าด้วยนิโรธสมาบัตินี้นั้น ท่านพรรณนา
ไว้แล้วในวิสุทธิมรรคแล. ก็เพราะเหตุไร พระเถระนี้ไม่เข้าผลสมาบัติ แต่
เข้านิโรธสมาบัติ ? เพราะจะอนุเคราะห์เหล่าสัตว์. จริงอยู่ พระมหาเถระ
นี้ ใช้สมาบัติได้แม้ทั้งหมด แต่โดยมากท่านเข้านิโรธสมาบัติ เพราะจะ
อนุเคราะห์สัตว์. เพราะเมื่อท่านเข้านิโรธสมาบัตินั้นแล้วออก สักการะ
แม้มีประมาณน้อยที่เขากระทำ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากเป็นพิเศษแล.
บทว่า วุฏฺฐาสิ ได้แก่ ออก โดยอรหัตผลจิตเกิดขึ้น. จริงอยู่ ผู้เข้านิโรธ-
สมาบัติ หากเป็นพระอรหันต์ ย่อมชื่อว่าออกโดยอรหัตผลเกิดขึ้น หาก
เป็นพระอนาคามี ย่อมชื่อว่าออกโดยอนาคามิผลเกิดขึ้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ก็สมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพมีความ
ประสงค์จะถวายบิณฑบาตแก่ท่านพระมหากัสสป ดังนี้ต่อไป. อย่างไร
ท้าวสักกะจึงมีความประสงค์จะถวายแก่ท่าน ? เทวดาที่ท่านกล่าวว่ามี
ประมาณ 500 นั้น เป็นปริจาริกาของท้าวสักกเทวราช นางมีเท้าดัง

เท้านกพิราบ เคยถูกท้าวสักกะส่งไปด้วยพระดำรัสว่า พระผู้เป็นเจ้ามหา-
กัสสปเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พวกเธอจงไปถวายทานแด่พระ-
เถระ จึงเข้าไปหาแล้วยืนประสงค์จะถวายอาหารทิพย์ ถูกพระเถระห้าม
จึงกลับไปยังเทวโลกตามเดิม. บัดนี้ คิดถึงการห้ามครั้งก่อน จึงคิดว่า
พระเถระจะรับในกาลบางคราว มีความประสงค์จะถวายทานแก่พระเถระ
ผู้ออกจากสมาบัติ จึงไม่กราบทูลให้ท้าวสักกะทรงทราบ มากันเองน้อม
โภชนะอันเป็นทิพย์เข้าไปถวาย ถูกพระเถระห้ามไว้โดยนัยก่อนเหมือนกัน
จึงกลับไปเทวโลก ถูกท้าวสักกะถามว่า พวกเธอไปไหนมา จึงกราบทูล
ความนั้น เมื่อท้าวสักกะถามว่า พวกเธอถวายบิณฑบาตแก่พระเถระแล้ว
หรือ จึงทูลว่า ท่านไม่ปรารถนาจะรับ. ท้าวสักกะถามว่า ท่านพูดว่า
อย่างไร. จึงทูลว่า ข้าแต่เทวะ ท่านพูดว่า จะสงเคราะห์คนเข็ญใจ. ท้าว-
สักกะถามว่า พวกเธอไปโดยอาการอย่างไร. จึงทูลว่า ไปด้วยอาการ
นี้แหละ พระเจ้าข้า. ท้าวสักกะตรัสว่า ผู้เช่นพวกเธอ จักถวายบิณฑบาต
แด่พระเถระได้อย่างไร มีพระประสงค์จะถวายด้วยพระองค์เอง จึงแปลง
เป็นช่างหูกแก่ชรา ฟันหัก ผมหงอก หลังค่อม ทำแม้นางสุชาดาผู้เป็น
อสุรธิดา ให้เป็นหญิงแก่เช่นนั้นเหมือนกัน แล้วนิรมิตถนนแห่งคนช่าง-
หูกสายหนึ่ง กำลังกรอด้ายอยู่ นางสุชาดาทำ (ด้าย) ให้เต็มหลอด. เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน สมเยน สกฺโก เทวานมินฺโท
ฯ เป ฯ ตสรํ ปูเรสิ
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตนฺตํ วินาติ ได้แก่ ท้าวสักกะแสร้ง
ทำเป็นเหมือนทอผ้าอยู่. บทว่า ตสรํ ปูเรติ ได้แก่ นางสุชาดาแสร้งทำ
เป็นเหมือนกรอด้ายอยู่. บทว่า เยน สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส นิเวสนํ

เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระเถระครองผ้าแล้วถือบาตรและจีวร เดินมุ่ง
หน้าไปยังพระนครด้วยหมายว่า จักสงเคราะห์คนเข็ญใจ ดำเนินไปตาม
ถนนช่างหูกที่ท้าวสักกะนิรมิตไว้นอกพระนคร ตรวจดูอยู่ได้เห็นศาลเก่า
พังพะเยิบพะยาบ และสามีภรรยาทั้งสองผู้มีรูปร่างดังกล่าวแล้ว กำลัง
ทอผ้าอยู่ในศาลานั้น ครั้นเห็นแล้วจึงคิดว่า สองผัวเมียนี้แม้ในเวลาแก่
ก็ยังทำการงานอยู่ ในเมืองนี้ เห็นจะไม่มีคนที่เข็ญใจกว่าของผัวเมียนี้
เราจักรับสิ่งที่สองผัวเมียนี้ให้ แม้มาตรว่าผักดอง สงเคราะห์สองผัวเมียนี้.
ท่านจึงเดินมุ่งหน้าไปยังเรือนของสองผัวเมียนั้น. ท้าวสักกะเห็นพระเถระ
กำลังเดินมา จึงตรัสกะนางสุชาดาว่า แน่ะเธอ พระคุณเจ้าของเรากำลัง
มาที่นี้ เจ้าจงนั่งนิ่งทำเป็นเหมือนไม่เห็นท่าน เราจะลวงชั่วขณะแล้วจึง
ถวายบิณฑบาต. พระเถระได้ไปยืนอยู่ที่ประตูเรือน. ฝ่ายสองผัวเมียนั้น
ทำเป็นไม่เห็น ทำแต่งานของคนอย่างเดียว รอเวลาหน่อยหนึ่ง. ลำดับนั้น
ท้าวสักกะตรัสว่า ดูเหมือนพระเถระรูปหนึ่งยืนอยู่ที่ประตูบ้าน เธอจง
ใคร่ครวญดูซิ. นางทูลว่า พระองค์โปรดไปใคร่ครวญดูเถอะนาย. ท้าว
สักกะออกจากเรือนไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เอามือทั้งสอง
ยันเข่าทอดถอนอยู่ ลุกขึ้นถามว่า พระผู้เป็นเจ้า เป็นพระเถระรูปไหนหนอ
จึงถอยไปหน่อยหนึ่งแล้วตรัสว่า นัยน์ตาของเรามืดมัว จึงป้องพระหัตถ์
ที่หน้าผากแล้วเงยขึ้นดู แล้วตรัสว่า โอ ตายจริง พระมหากัสสปเถระ
ผู้เป็นเจ้าของเรา มายังประตูกระท่อมของเรานานแล้ว ในเรือนมีอะไรบ้าง
หรือ. นางสุชาดาทำเป็นกุลีกุจอหน่อยหนึ่งแล้วให้คำตอบว่า มีจ๊ะนาย.
ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ท่านไม่คิดว่า เศร้าหมองหรือประณีต
โปรดสงเคราะห์โยมเถิด ดังนี้แล้วจึงรับบาตร. พระเถระเมื่อจะให้บาตร

คิดว่า เราควรสงเคราะห์คนเข็ญใจแก่ชราเหล่านี้แหละ. ท้าวสักกะนั้น
เข้าไปข้างในคดข้าวสุกในหม้อออกจากหม้อใส่เต็มบาตร แล้ววางไว้ในมือ
พระเถระ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ท้าวสักกะจอมเทพเจ้าได้เห็น
แล้วแล ฯ ล ฯ ได้ถวายแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆฏิยา แปลว่า จากหม้อข้าว. บาลีว่า
ฆฏิโอทนํ ดังนี้ก็มี. อาจารย์บางพวกกล่าวอรรถของบาลีนั้นว่า ชื่อว่า
ข้าวสุกในหม้อ ได้แก่อาหารพิเศษบางอย่างของพวกเทพ. บทว่า อุทฺธ
ริตฺวา
ได้แก่ ยกขึ้นจากภาชนะไหน ๆ. อาหารนั่นแหละมีสูปะมากมาย
ในเวลาใส่ลงในบาตรแล้ววางในมือพระเถระ ปรากฏเหมือนอาหารปอน ๆ
ที่สำเร็จแก่คนกำพร้า แต่อาหารนั้น เพียงวางไว้ในมือ ได้ตั้งอยู่โดยสภาวะ
เหมือนของทิพย์สำหรับตน. บทว่า อเนกสูโป ได้แก่ สูปะหลายอย่าง
โดยสูปะมีถั่วเขียวและถั่วราชมาสเป็นต้น และโดยชนิดของเคี้ยวมากมาย.
บทว่า อเนภพฺยญชโน ได้แก่ แกงอ่อมต่างชนิด. บทว่า อเนกสูปพฺยญฺ-
ชโน*
ความว่า มีสูปะและพยัญชนะรสเลิศต่าง ๆ อันประกาศถึงรสเดิม
มีน้ำหวานเป็นต้น และรสที่เจือกัน ด้วยสูปะและพยัญชนะมากมาย.
ได้ยินว่า บิณฑบาตนั้น ในเวลาวางไว้ในมือของพระเถระ ตลบ
ไปด้วยกลิ่นทิพย์ของตนทั่วกรุงราชคฤห์. ลำดับนั้น พระเถระคิดว่า บุรุษ
นี้มีศักดิ์น้อย แต่บิณฑบาตของเขาประณีตยิ่งนัก เสมือนโภชนะของท้าว-
สักกเทวราช นั่น ใครหนอ. ลำดับนั้น พระเถระทราบว่าท่านเป็นท้าว-
สักกะ จึงกล่าวว่า ดูก่อนท้าวโกสีย์ ข้อที่พระองค์แย่งสมบัติของคนเข็ญใจ
* ของฉัฏฐีสังคีติ เป็น อเนกรสพฺยญฺชโน.

จัดว่าทำกรรมหนักแล้ว วันนี้คนเข็ญใจบางคนถวายทานแก่อาตมาแล้ว
พึงได้ตำแหน่งเสนาบดีหรือตำแหน่งเศรษฐี. ท้าวสักกะกล่าวว่า ใครที่
เข็ญใจกว่าข้าพเจ้ามีอยู่หรือ พระคุณเจ้า. พระเถระกล่าวว่า พระองค์
เสวยสิริราชสมบัติในเทวโลก จะเป็นคนเข็ญใจได้อย่างไร. ท้าวสักกะ
กล่าวว่า ข้อนั้นชื่อว่าเป็นอย่างนั้นนะ พระคุณเจ้า ก็ข้าพเจ้าได้กระทำ
กรรมอันงามไว้เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น แต่เมื่อพุทธุปบาทกาล
เป็นไปอยู่ เทวบุตร 3 องค์นี้ คือ จูฬรถเทวบุตร มหารถเทวบุตร
อเนกวัณณเทวบุตร กระทำบุญกรรมแล้วเกิดในที่ใกล้กับข้าพเจ้า มีเดช
มากกว่าข้าพเจ้า เมื่อเทวบุตรเหล่านั้นคิดจะเล่นงานนักขัตฤกษ์ จึงพานาง
บำเรอลงสู่ระหว่างถนน ข้าพเจ้าจึงหนีเข้าเรือน เพราะเดชจากสรีระของ
เทพบุตรเหล่านั้น กลบร่างของข้าพเจ้า เดชจากร่างของข้าพเจ้า หาได้
กลบร่างของเทพบุตรเหล่านั้นไม่ ใครจะเป็นผู้เข็ญใจกว่าข้าพเจ้าล่ะ พระ-
คุณเจ้า. พระเถระกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่นี้ไป พระองค์
อย่าลวงอย่างนี้ แล้วถวายทานแก่อาตมา. ท้าวสักกะตรัสว่า เมื่อข้าพเจ้า
ลวงถวายทานแก่ท่าน ข้าพเจ้าจะมีกุศลหรือไม่มี พระเถระกล่าวว่า มี
อาวุโส. ท้าวสักกะตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ขึ้นชื่อว่าการทำกุศลเป็นหน้าที่
ของข้าพเจ้าน่ะ ขอรับ ดังนี้แล้ว จึงนมัสการพระเถระ พานางสุชาดาทำ
ประทักษิณพระเถระแล้วเหาะไป เปล่งอุทานขึ้น 3 ครั้งว่า น่าอัศจรรย์
ทานที่เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสปเป็นทานอย่างยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า อถ โข อายสฺมโต มหกสฺสปสฺส เอตทโหสิ ดังนี้.
พระมหากัสสปเรียกท้าวสักกะจอมเทพโดยโคตรว่า โกสิยะ ใน
พระบาลีนั้น. บทว่า ปุญฺเญน อตฺโถ แปลว่า ประกอบด้วยบุญ. บทว่า

อตฺถิ เป็นบาลีที่เหลือ. บทว่า เวหาสํ อพฺภุคฺคนฺตฺวา ความว่า เหาะขึ้น
จากพื้นดิน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า อากาเส อนฺตลิกฺเข คือ
ในอากาศเป็นที่เห็นรูปในระหว่าง โดยปริยายศัพท์ก็คืออากาศ. อีกอย่าง
หนึ่ง ท่านกล่าวไว้โดยพิเศษว่า ในอากาศกล่าวคือที่เห็นรูปในระหว่าง
ไม่ใช่ในอากาศที่เพิกกสิณเป็นต้น. ศัพท์ว่า อโห ในบทว่า อโห ทานํ
นี้ เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่าน่าอัศจรรย์.
จริงอยู่ ท้าวสักกะจอมเทพ เกิดพระหฤทัยน้ำอัศจรรย์ว่า เพราะเหตุ
ที่เรากระทำความยำเกรงด้วยมือของตนโดยเคารพ แด่พระผู้เป็นเจ้ามหา-
กัสสปเถระผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วทำสัมมาทิฏฐิไม่ให้เปลี่ยนแปลง
ไม่ให้กระทบกระทั่งผู้อื่นโดยกาล จึงถวายทานด้วยโภชนะเป็นทิพย์เช่นนี้
ฉะนั้น เพราะเราเป็นผู้ประกอบด้วยสมบัติ 3 ประการ คือ เขตสมบัติ
ไทยสมบัติ และจิตสมบัติ จึงบำเพ็ญทานอันสมบูรณ์ด้วยองค์ทั้งปวง
หนอ ในคราวนั้น เมื่อจะหลั่งออกซึ่งปีติและโสมนัสที่อยู่ภายในพระหฤทัย
ของพระองค์ จึงกล่าวว่า อโห ทานํ ทานน่าอัศจรรย์ เมื่อทรงประกาศ
ว่า ทานนั้นเป็นทานสูงสุด และว่า เป็นเขต โดยนัยดังกล่าวแล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานว่า ปรมทานํ กสฺสเป สุปติฏฺฐิตํ ดังนี้.
ก็เมื่อท้าวสักกะทรงเปล่งอุทานอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ประ-
ทับอยู่ที่พระวิหารนั่นเอง ทรงสดับเสียงด้วยทิพยโสต แล้วตรัสแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเห็นไหม ท้าวสักกะจอมเทพทรง
เปล่งอุทานแล้วเหาะไป อันภิกษุเหล่านั้น ทูลถามว่า ก็ท้าวสักกะนั้น
ทรงกระทำอะไร พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ท้าวเธอลวงถวายทานแด่ท่าน
กัสสป บุตรของเรา เพราะเหตุนั้นแล ท้าวเธอพอพระทัยจึงทรงเปล่ง

อุทาน. ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรง
สดับแล้วแลด้วยทิพยโสตธาตุ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพาย โสตธาตุยา ความว่า ชื่อว่า
ทิพย์ เพราะเหมือนกับของทิพย์. จริงอยู่ ทิพยปสาทโสตธาตุ อันเกิด
ด้วยสุจริตกรรมของพวกเทวดา ไม่พัวพันด้วยสิ่งไม่สะอาด มีดี เสมหะ
และเลือดเป็นต้น สามารถรับอารมณ์ แม้ในที่ไกลได้ เพราะปลอดจาก
อุปกิเลส. ก็แม้โสตธาตุสำเร็จด้วยญาณ อันเกิดจากกำลังความเพียรภาวนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เหตุนั้น ชื่อว่า ทิพย์
เพราะเป็นเช่นกับของทิพย์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิพย์ เพราะได้ด้วย
อำนาจทิพยวิหารธรรม และแม้เพราะตนเองอาศัยทิพยวิหาร ชื่อว่า
โสตธาตุ เพราะอรรถว่าฟังและอรรถว่าทรงอยู่ตามสภาวะ. ชื่อว่า โสตธาตุ
เพราะเป็นเหมือนโสตุธาตุ โดยทำหน้าที่แม้ของโสตธาตุ. ด้วยโสตธาตุ
อันเป็นทิพย์นั้น. บทว่า วิสุทฺธาย ได้แก่ บริสุทธิ์ คือปลอดจากอุป-
กิเลส. บทว่า อติกฺกนฺตมานุสิกาย ความว่า ล่วงอุปจารมนุษย์ ก้าว
ล่วงมังสโสตธาตุของมนุษย์ด้วยการฟังเสียงตั้งอยู่.
บทว่า เอตมตฺถํ วทิตฺวา ความว่า ทรงทราบความนี้ว่า เทพก็ดี
มนุษย์ก็ดี เกิดความเอื้อเฟื้อประพฤติรักใคร่อย่างยิ่ง ซึ่งบุรุษผู้ดีเยี่ยมดำรง
อยู่ในคุณวิเศษด้วยสัมมาปฏิบัติ แล้วจึงเปล่งอุทานนี้อันแสดงความนั้น.
ในอรรถนั้น ผู้ชื่อว่า ปิณฑปาติกะ เพราะสมาทานธุดงค์ กล่าว
คือองค์ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แล้วจึงบำเพ็ญธุดงค์นั้น. ถามว่า
พระคาถานี้ ตรัสกระทำท่านพระมหากัสสปให้เป็นเหตุ และพระเถระ
เป็นผู้เลิศกว่าธุตวาทภิกษุทั้งหมด เป็นผู้ทรงธุดงค์ 13 มิใช่หรือ เพราะ

เหตุไร พระเถระ จึงถูกระบุธุดงค์ข้อเดียวเท่านั้น ? ตอบว่า นี้ เป็น
การแสดงในอัตถุปปัตติเหตุ. อีกอย่างหนึ่ง นี้เป็นเพียงเทศนา. ด้วยคำนี้
พึงทราบว่า ตรัสธุดงค์แม้ทั้งหมดแก่พระเถระนั้น โดยยกเทศนาขึ้นเป็น
ประธาน. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อประกาศข้อปฏิบัติอันดีเยี่ยม ในพระเถระ
นั้น ไม่ทำปิณฑปาติกวัตรทั้งหมดให้ขาด เพราะท่านมักน้อยอย่างยิ่ง และ
อนุเคราะห์ต่อตระกูล จึงกล่าวว่า ปิณฺฑปาติกสฺส โดยนัยดังกล่าวแล้ว
ด้วยคาถามีอาทิว่า ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ ดังนี้. ก็บทว่า ปิณฺฑปาติกสฺส
เป็นจตุตถีวิภัตติ โดยมุ่งถึงบทว่า ปิหยนฺติ. บทว่า ปิณฺฑปาติกสฺส นั้น
พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า อตฺตภรสฺส ความว่า ผู้เลี้ยง
เฉพาะตนเท่านั้น ด้วยปัจจัย 4 อันน้อย ไม่มีโทษ และหาได้ง่าย ซึ่ง
ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ปัจจัยเหล่านั้น น้อยด้วย หาได้ง่ายด้วย ไม่มีโทษ
ด้วย. บทว่า อนญฺญโปสิโน ความว่า ชื่อว่า ไม่ใช่ผู้เลี้ยงผู้อื่น เพราะ
ไม่มีความขวนขวายที่จะเลี้ยงผู้อื่นมีศิษย์เป็นต้น ด้วยการสงเคราะห์ด้วย
อามิส. ด้วยทั้ง 2 บท พระองค์ทรงแสดงความประพฤติเบาพร้อม ความ
เป็นผู้เลี้ยงง่าย และความเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งของท่านพระมหากัสสป
เพราะท่านเที่ยวไปด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่อง
บริหารท้อง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อตฺตภรสฺส ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้
เลี้ยงตน เพราะเลี้ยงตนผู้เดียวนี้เท่านั้น กล่าวคืออัตภาพ โดยต้องการจะ
พูดว่าเลี้ยงตนคำเดียว ไม่ใช่เลี้ยงคนอื่นจากงานนี้ไป. ต่อแต่นั้นแล ชื่อว่า
ไม่ใช่เลี้ยงผู้อื่น เพราะไม่มีคนอื่นที่ตนจะฟังเสียง. ซึ่งภิกษุนั้นผู้เลี้ยงตน
ผู้ไม่เลี้ยงคนอื่น. ด้วยทั้ง 2 บท ทรงแสดงถึงความไม่ยึดถือต่อไป เพราะ
ท่านเป็นพระขีณาสพ. บทว่า เทวา ปิหยนฺติ ฯ เป ฯ สตีมโต ความว่า

เทพมีท้าวสักกะเป็นต้น ย่อมกระหยิ่ม คือย่อมปรารถนา พระขีณาสพนั้น
ชื่อว่าผู้เข้าไปสงบ ด้วยปฏิปัสสัทธิ เพราะสงบความกระวนกระวาย และ
ความเร่าร้อนอันเกิดแต่กิเลสทั้งปวง โดยบรรลุอรหัตผล ชื่อว่าผู้มีสติ
เพราะเป็นผู้มีสติกระทำตลอดกาลเป็นนิจ ด้วยถึงความไพบูลย์ด้วยสติ
ต่อแต่นั้น ถึงลักษณะความเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น
คือยังความนับถืออย่างมากให้เกิด จึงเกิดความเอื้อเฟื้อในคุณวิเศษของท่าน
มีศีลเป็นต้น จะพูดถึงมนุษย์ทำไมเล่าแล.
จบอรรถกถามหากัสสปสูตรที่ 7

8. ปิณฑปาตสูตร



ว่าด้วยภิกษุสนทนาเรื่องบิณฑบาต



[82] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล
ภิกษุมากด้วยกัน กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตนั่งประชุมกันในโรง
กลมใกล้ต้นกุ่ม สนทนากันถึงเรื่องเป็นไปในระหว่างนี้ว่า ดูก่อนท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตอยู่
ย่อมได้เห็นรูปอันเป็นที่พอใจด้วยจักษุ ย่อมได้ฟังเสียงอันเป็นที่พอใจด้วย
หู ย่อมได้ดมกลิ่นอันเป็นที่พอใจด้วยจมูก ย่อมได้ลิ้มรสอันเป็นที่พอใจ
ด้วยลิ้น ย่อมได้ถูกต้องโผฏฐัพพะอันเป็นที่พอใจด้วยกาย ตามกาลอัน
สมควร ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร